วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ควรจะเป็น

ทัศนะทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติที่มีส่วนช่วยในการสอนวิทยาศาสตร์ที่ได้ผล โดยจุดประสงค์ของการสอนเพื่อช่วยนักเรียนให้เข้าใจมโนทัศน์หรือระบบมโนทัศน์ นักเรียนควรจะได้รับการสอนเพื่อให้ได้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นรากฐานของความเชื่อไว้ใจและเชื่อถืออย่างมีเหตุผล เพื่อให้บรรลุดังกล่าวนี้ครูสอนวิทยาศาสตร์จะต้องมีความรู้เนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ และวิธีการสอน รวมทั้งความรู้โดยทั่วไป สิ่งนี้หมายถึงว่าครูจะต้องมีความรู้ทางการศึกษาโดยทั่วไป เช่นทฤษฎีการเรียนรู้ รูปแบบการสอน การวางแผนการสอน และการจัดการเรียนรู้ ทักษะการสื่อสาร ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การกระตุ้นปลุกเร้า และเทคโนโลยีทางการศึกษา

ในการสอนวิทยาศาสตร์การสอนความรู้เนื้อหาวิทยาศาสตร์อย่างไร หรือวิธีการสอน วิธีการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาตร์มีความเหมาะสมเป็นอย่างสูง เพราะวิธีการนี้สอดคล้องตรงกันกับธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ หรือคนเรียนรู้อย่างไรโดยธรรมชาติ นักเรียนจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์เหมือนกับที่วิทยาศาสตร์ได้ทำ (learn science as science is done) วิธีการนี้จะส่งเสริมให้นักเรียนคิดในเชิงวิทยาศาสตร์ การคิดในลักษณะดังกล่าวนี้อาจเป็นเป้าหมายหลักทางการศึกษาเพื่อสร้างนักคิดที่มีเหตุผลในรูปของการคิดแบบวิพากษ์วิจารณ์และการคิดในทางสร้างสรรค์ (critical and creative thinking) ครูควรจะทำความชัดเจนอันเป็นเป้าหมายสำคัญของวิทยาศาสตร์ศึกษา (science education) นั้นคือความเข้าใจ หรืออย่างน้อยเป็นที่รับรู้ถึงธรรมชาติการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ต่อไปจะได้นำเสนอจุดต่างๆ ที่ผู้เขียนเห็นว่าเชื่อว่าจะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการเรียนการสอน

ไม่มีความคิดเห็น: