วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ทัศนะการสร้างความรู้ที่ใช้ในวิทยาศาสตร์ศึกษา

ผู้เรียนจะแลเห็นไม่โครงสร้างความคิด (schemata)ที่มีอยู่ที่จัดให้ใช้อธิบายประสบการณ์อย่างพอเพียง หรือยังมีบางอย่างที่ไม่พอเพียงที่ประสบการณ์ที่มีไม่สามารถอธิบายได้อย่าง สมบูรณ์ ผู้เรียนอาจจะแลเห็นถึงโครงสร้างความคิดที่มีที่จัดคำอธิบายประสบการณ์อย่าง เพียงพอ แต่ตามทัศนะของผู้สอนผู้เรียนยังมีไม่เพียงพอ ที่อาจเกิดขึ้นได้ถ้า ตามความตั้งใจของครู โครงสร้างความคิดที่เหมาะสมนำมาใช้ในการตีความประสบการณ์ หรือถ้ามีบางแง่มุมของประสบการณ์ที่ไม่เข้ากับโครงสร้างความคิดที่มีอยู่ ถ้าสังเกตไม่พบหรือละเลยไป ผู้เรียนจำนวนมากได้ออกไปจากสถานะการณ์ที่จะเรียนรู้ โดยโครงสร้างความคิดเดิมสนับสนุน (Apoleton,1989)

โดยการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศมากขึ้นช่วยลดความขัดแย้งความไม่สมดุลย์ (dissonance) ขณะที่ผู้เรียนขยายขอบเขตโครงสร้งความคิดที่มีอยู่ การขยายโครงสร้างความคิดดังกล่าวหรือเป็นการสร้างโครงสร้างความคิดใหม่ขึ้น (Osborne&Witrock,1983) เป็นประสบการหนึ่งเดียวที่มีการปรับโครงสร้างความคิดใหม่เพิ่มเติม (accomodation) (Piaget, 1978) ดังที่อธิบายไว้อาจจะไม่เพียงพอสำหรับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความคิดหลัก ของผู้เรียน (cognitive structrue) ดังนั้นโครงสร้างใหม่คงจะจำเป็นนำไปใช้และทดสอบในหลายๆ สถานะการณ์ที่มีประโยชน์และสามารถจัดการได้ (Osborne&Witrock,1983) ผู้เรียนมากมายอาจต้องการความช่วยเหลือในการเข้าไปตีความสารสนเทศใหม่ที่ อยู่ในประเด็นของประสบการณ์ ดังนั้นการขยายของเขตที่เหมาะสมต่อโครงสร้างความคิดและความเชื่อมโยงระหว่าง โครงสร้างความคิดต่างๆ ควรจัดให้มีขึ้น

เมื่อผู้เรียนรอเพื่อการปรับแก้สารสนเทศให้ถูกต้อง การจัดโดยหนังสือเล่มหนึ่ง โดยครู หรือผู้มีอำนาจศักยภาพอื่น และให้ผู้เรียนเรียนแบบท่องจำกับสิ่งที่จัดให้ดังกล่าว ผู้เรียนสามารถจำสารสนเทศได้ง่ายในบริบทที่ใกล้เคียงกับที่ได้จัดให้ และไม่อาจจัดการเข้าถึงได้ในบริบทอื่นๆ เป็นลักษณะของการปรับโครงสร้างทางความคิดที่ผิดพลาด (False accommodation) ซึ่งมักจะใช้กันมากในโรงเรียนในการเตรียมสำหรับการสอบไล่

ผู้เรียนบางคนอาจจะไม่พิจารณาที่จะพยายามต่อไป ที่จะไปเกี่ยวข้องที่จะดำเนินการแบบเดิมต่อไป ไม่ว่าปรับโครงสร้างความคิดที่ผิด หรือแม้แต่การปรับโครงสร้างความคิดให้ถูกว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และดังนั้นเขา จึงออกไปจากประสบการณ์การเรียนรู้ ดังเช่นผู้เรียนบางคนอาจจะมีประสบการล้มเหลวซ้ำแล้วซ้ำเล่าในทางวิทยาศาสตร์ และเพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดที่จะเกิดอีก จึงออกจากสถานะการเรียนรู้คือไม่ยอมเรียนรู้ใดๆ

ไม่มีความคิดเห็น: