วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

ทัศนความหมายของวิทยาศาสตร์

ได้มีผู้ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ในเชิงที่นิ่งและเคลื่อนไหว (static and dynamic) เป็นต้นว่าเซอร์วิลเลี่ยม แคมเปียร์ (Sir William Dampier) ได้ให้ความหมายวิทยาศาสตร์ไว้ว่าเป็น “ความรู้เกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีระเบียบแบบแผนการศึกษาที่มีเหตุผลซึ่งบอกถึงความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดรวบยอดที่แสดงถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวแล้ว” อีกท่านหนึ่งคือเบอร์ทรานด์ รัสเซลล์ (Bertrand Russell) ได้ให้ความหมายวิทยาศาสตร์ว่า “เป็นความรู้ที่มีหลักเกณฑ์อันนำไปสู่การสร้างกฏทั่วไป ที่ซึ่งเชื่อมโยง ความจริงจำเพาะ ในอีกด้านหนึ่งความรู้จะเป็นพื้นฐานที่ผลักดันให้มนุษย์มีอำนาจที่จะควบคุมจัดการธรรมชาติ
ตามความหมายของแคมเปียร์เกี่ยวข้องโดยตรงกับความรู้ทางวิทยาศาสตร์ แต่ไม่ได้คำนึงถึงการประยุกต์ใช้ความรู้ดังกล่าวตลอดจนอำนาจที่จะนำไปประยุกต์ในทางที่จะเปลี่ยนแปลง ควบคุมธรรมชาติของมนุษย์ อย่างไรก็ตามความหมายนี้ของวิทยาศาสตร์ถือเสมือนว่าอยู่นิ่ง เพราะว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดของวิทยาศาสตร์ไม่ใช่ตัวความรู้ แต่เป็นความสามารถที่จะรับเอาความรู้ นอกจากนี้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นยังจำกัดไม่สมบูรณ์ ยังไม่ถูกต้องทุกแง่ทุกมุม มักจะได้รับการปรับเปลี่ยนและทบทวนกันใหม่ นั่นก็คือวิทยาศาสตร์สามารถที่จะเพิ่มความรู้ขึ้นได้โดยไม่จำกัด
เจ จี โกรเทอร์ (J. G. Growthers) ได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ว่าเป็น “ระบบของพฤติกรรมซึ่งมนุษย์ได้มาเพื่อจะควบคุมสิ่งแวดล้อมของตนเอง ตามความหมายนี้ได้ชี้ให้เห็นด้านที่เสมือนว่าเป็นการเคลื่อนไหวของวิทยาศาสตร์ ความหมายที่ครบถ้วนของวิทยาศาสตร์จะต้องรวมเอาส่วนที่จริงแท้ของวิทยาศาสตร์ แม้ว่าในสาขานั้นจะเพิ่งเริ่มต้นขึ้นก็ตาม นอกจากนี้จะต้องรวมเอาเครื่องมืออันจะเป็นมาตรวัดความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์ ที่สามารถวัดออกมาได้ และจะต้องไม่เพียงแต่นำวิทยาศาสตร์ในเชิงเคลื่อนไหวเท่านั้น ยังจะต้องคำนึงถึงความจริงที่ว่า ธรรมชาติโดยตัวเองแล้วไม่ได้หยุดนิ่ง และกฏหลักเกณฑ์ต่างๆ ไม่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงไม่ได้ แต่จะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา

ไม่มีความคิดเห็น: